สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้กำหนดขอบเขตของงานตามบทบาท และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงาน ดังนี้
1.การจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553 – 2557 โดยมีจุดเริ่มต้นจากการประสานขอรายชื่อผู้แทนทุกส่วนราชการของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดทำกรอบโครงร่างของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย วิเคราะห์สถานการณ์สาธารณภัย และข้อมูลพื้นฐานทั่วไปวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร วิเคราะห์กรอบยุทธศาสตร์แผนงาน และมาตรการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยวิเคราะห์การปฏิบัติการทั้งก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย วิเคราะห์กระบวนด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และภัยด้านความมั่นคง แยกตามประเภทภัย กำหนดรายละเอียดของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และจัดทำร่างแผนการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย เพื่อให้คณะกรรมการจัดทำแผนฯ เห็นชอบ และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศใช้แผน
2. การจัดทำแผนและติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีโดยมีจุดเริ่มต้นจากการประสานขอรายชื่อผู้แทนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากทุกส่วนราชการในสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานโดยนำแนวคิด SWOT เข้ามาปรับใช้โดยมีแผนบริหารราชการกรุงเทพมหานคร 4 ปี แผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานครประจำปี นโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาเป็นกรอบในการจัดทำ กำหนดแผนงานโครงการตามกลยุทธ์ และจัดทำร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยนำ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี มาใช้ในการปรับแผนปฏิบัติราชการ แล้วนำเสนอผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พิจารณา ประกาศใช้โดยให้แต่ละส่วนราชการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ตามแผน และให้กองวิชาการและแผนงานติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการ ซึ่งอาจจะมีการประชุมติดตามผลการดำเนินการตามแผนรายโครงการ/กิจกรรมทุกเดือน โดยมีหน่วยงานผู้ตรวจประเมินตรวจประเมินแล้ว สรุปรายงานผลรายเดือน 3 เดือน และรายปี
3. การตรวจมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัยของอาคารที่ขออนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม โดยมีจุดเริ่มต้นจากการรับเรื่องจากกรมการปกครอง มอบหมายเจ้าหน้าที่ดำเนินการประสานข้อมูลรายละเอียด แบบแปลนของสถานที่ที่ขออนุญาต แจ้งสถานีดับเพลิงพื้นที่ร่วมในการตรวจสอบ ตรวจสถานที่ให้คำแนะนำให้เป็นไปตามข้อกำหนดหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จัดทำหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบไปยังกรมการปกครอง
4.การเจ้าหน้าที่ โดยมีจุดเริ่มต้นจากเจ้าหน้าที่รับเรื่อง บรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โอน หรือขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การตรวจสอบคุณสมบัติ การจัดทำคำสั่งต่างๆ หรือบัญชีรายชื่อฯ การเสนอคำสั่งฯ หรือบัญชีรายชื่อฯ การแจ้งคำสั่งฯ หรือแจ้งบัญชีรายชื่อฯ ให้ผู้ขอทราบ และสิ้นสุดที่การจัดเก็บเอกสาร คำสั่ง บรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โอน หรือรายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
5. การจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในช่วงเทศกาลต่างๆ และตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร โดยมีจุดเริ่มต้นจากรับมอบนโยบายจากผู้บริหารฯ แล้วจัดทำแผนป้องกันสาธารณภัยในช่วงเทศกาลต่างๆ กำหนดแผนงานและแนวทางในการปฏิบัติตามแผนที่ได้จัดทำไว้แล้วนำเสนอแผนให้ผู้บริหารลงนามในการปฏิบัติงาน พิจารณาแจ้งหน่วยงานต่างๆ เพื่อปฏิบัติตามแผนฯ ที่กำหนดไว้ และสรุปผลการปฏิบัติงาน
6. การปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนและอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัย การจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครกรุงเทพมหานคร การใช้อาสาสมัคร โดยมีจุดเริ่มต้นจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอความร่วมมือกรุงเทพมหานครให้นำกำลังสมาชิก อปพร. เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีหนังสือนำเสนอผู้อำนวยการสำนักเพื่อลงนามแจ้งสำนักงานเขต จัดกำลังสมาชิก อปพร. เข้าร่วมกิจกรรม และสำนักงานเขตต่างๆ แจ้งรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม และนำสมาชิก อปพร. เข้าร่วมกิจกรรมโดยมีหนังสือแจ้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แจ้งชื่อสมาชิก อปพร. เข้าร่วมกิจกรรม
7. การจัดทำทะเบียนและบัตรประจำตัวอาสาสมัคร โดยมีจุดเริ่มต้นจากสำนักงานเขตขอจัดทำบัตรประจำตัวสมาชิก อปพร. และวุฒิบัตร ให้สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พิจารณาส่งคืนบัตรและวุฒิบัตร อปพร. ที่ได้ลงนามเล้ว
8. การให้การสงเคราะห์อาสาสมัคร โดยมีจุดเริ่มต้นจาก สำนักงานเขตขอรับการสงเคราะห์อาสาสมัคร อปพร. พร้อมตรวจสอบเอกสารหลักฐานในการพิจารณาการให้ความสงเคราะห์สมาชิก อปพร. เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาการให้การสงเคราะห์สมาชิก อปพร. แล้วมีหนังสือถึงสำนักการคลัง เพื่อทำการเบิกจ่ายเงินโดยมีหนังสือถึงสำนักงานเขตเพื่อดำเนินการเบิกจ่ายช่วยเหลือสงเคราะห์สมาชิก อปพร. และสำนักงานเขตดำเนินการเบิกจ่ายเงินการสงเคราะห์ อาสาสมัคร อปพร.
9. การจัดประชุมอาสาสมัคร โดยมีจุดเริ่มต้นจากการจัดเตรียมสถานที่ ระเบียบวาระการประชุม ทำหนังสือ แจ้งสมาชิก อปพร. เข้าร่วมการประชุม โดยสมาชิกเข้าร่วมการประชุม โดยมีการรายงานการประชุม และสรุปผลการประชุมให้ผู้บริหารทราบและทำหนังสือแจ้งสำนักงานเขต เพื่อแจ้งสมาชิก อปพร. รับทราบมติที่ประชุม
10. การเข้าช่วยเหลือและการให้การสนับสนุนกองปฏิบัติการดับเพลิง 1-4 ในการเข้าระงับเหตุอัคคีภัย และการกู้ภัย โดยมีจุดเริ่มต้นจากการได้รับแจ้งจากศูนย์วิทยุพระรามขอกำลังสนับสนุนการปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัยจากกองปฏิบัติการดับเพลิง 1-4 โดยจัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ และวัสดุอุปกรณ์ในการดับเพลิงและกู้ภัย เข้าร่วมปฏิบัติการในจุดเกิดเหตุ โดยรายงานให้ผู้บังคับบัญชารับทราบ
11.การรับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และเหตุสาธารณภัยอื่นๆ โดยมีจุดเริ่มต้นจากการได้รับแจ้งเหตุจากสายด่วน 199 หรือศูนย์วิทยุพระราม และพิจารณาว่าเป็นเหตุเพลิงไหม้หรือเหตุสาธารณภัยอื่นๆ โดยบันทึกข้อมูลรายละเอียดเหตุเพลิงไหม้ และเหตุสาธารณภัยที่รับแจ้งให้ครบถ้วน ประสานแจ้งสถานีดับเพลิงที่ได้รับผิดชอบ และใกล้เคียงออกปฏิบัติหน้าที่ รายงานเหตุเพลิงไหม้หรือเหตุสำคัญให้ผู้บังคับบัญชาทราบ รับรายงานเหตุเพลิงไหม้ เหตุสาธารณภัยอื่นๆ จากสถานีดับเพลิงที่ออกปฏิบัติหน้าที่ แล้วสรุปรายงานเหตุเพลิงไหม้ และภัยอื่นๆ ให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
12. การจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการสาธารณภัย โดยมีจุดเริ่มต้นจากการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการสาธารณภัย ประชุมคณะทำงาน ลงมือเก็บข้อมูลในพื้นที่ใช้ในการปฏิบัติงานให้ครบถ้วน ถูกต้อง จัดทำเอกสารให้เป็นรูปเล่ม เพื่อให้กองปฏิบัติการดับเพลิงเห็นชอบ และประกาศใช้ฐานข้อมูล
13. การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีจุดเริ่มต้นจากการศึกษานโยบายและแผนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดลำดับความเสี่ยงของกลุ่มเป้าหมาย แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม กำหนดแผนงานโครงการฝึกอบรม นำเสนอแผนงานโครงการฝึกอบรมเพื่อให้ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเห็นชอบ เมื่อลงนามเห็นชอบแล้ว ดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้และฝึกภาคปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้กับชุมชน สถานประกอบการ โรงเรียน สถานประกอบการ จัดให้มีการเผยแพร่ความรู้การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยการแจกแผ่นพับ สื่อโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และรายงานผลการฝึกอบรมให้ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรับทราบผลการฝึก
14. การจัดเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ฯ ให้ความรู้ ความชำนาญในการปฏิบัติงาน โดยมีจุดเริ่มต้นจากการศึกษาหัวข้อวิชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กำหนดตารางการฝึกทบทวนจัดทำคำสั่งการฝึกทบทวน รายงานให้ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการดับเพลิงทราบ ทำการฝึกทบทวน ทดสอบการใช้อุปกรณ์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และรายงานสรุปผลการทดสอบและประเมินผล การฝึกทบทวน
15. การจัดเตรียมรถและรถอุปกรณ์ดับเพลิง โดยมีจุดเริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลรถและอุปกรณ์จากกองโรงงานช่างกล บริษัทผู้ผลิต กำหนดตารางการตรวจบำรุงรักษาถูกต้องตามมาตรฐานผู้ผลิตกำหนดและทดลองเครื่องยนต์ การทดสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำดับเพลิง โฟมเคมีดับเพลิง อื่นๆ จัดทำคำสั่งมอบหมายให้ประจำรถ คำสั่งให้ทดลองเครื่องยนต์ โดยให้ลงมือปฏิบัติทุกวัน ประเมินผลการปฏิบัติ
16. การสำรวจแหล่งธรรมชาติและหัวรับน้ำดับเพลิง โดยมีจุดเริ่มต้นจากการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อทำการสำรวจแหล่งน้ำธรรมชาติและหัวรับน้ำดับเพลิง (ประปาหัวแดง) ประชุมคณะทำงานลงมือสำรวจแหล่งน้ำธรรมชาติใช้ในการดับเพลิง คำนวณปริมาณน้ำ จัดทำแผน สำรวจสภาพการใช้งานหัวรับน้ำดับเพลิง (ประปาหัวแดง) จัดทำแผน ประเมินจุดติดตั้งเสนอขอติดตั้ง รวบรวมข้อมูลแหล่งน้ำธรรมชาติและหัวรับน้ำดับเพลิง (ประปาหัวแดง) รายงานผลการสำรวจให้ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการดับเพลิงรับทราบ และรายงานให้ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทราบ
17. การจัดทำแผนเผชิญเหตุสาธารณภัย โดยมีจุดเริ่มต้นจากการศึกษาวิเคราะห์แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับกรุงเทพมหานคร ระดับชาติ กำหนดแผนการปฏิบัติงานการเผชิญเหตุ กำหนดตัวชี้วัดมีแผนเผชิญเหตุร้อยละ 100 ของสาธารณภัย ที่อาจเกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร จัดทำแผนเผชิญเหตุของสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร เสนอผู้อำนวยการกองปฏิบัติการดับเพลิงพิจารณาเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบแล้วประกาศใช้แผน
18. การฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ โดยมีจุดเริ่มต้นจากการแต่งตั้งคณะทำงานฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ ประชุมคณะทำงาน จัดทำกำหนดการฝึกซ้อม เสนอผู้อำนวยการกองปฏิบัติการดับเพลิงพิจารณาเห็นชอบแผนการฝึกซ้อม เมื่อเห็นชอบแล้วประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อทำการฝึกซ้อมการปฏิบัติงานตามแผนเผชิญเหตุแต่ละประเภทสาธารณภัย จำลองสถานการณ์ ประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง รายงานผลการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ
19. การปฏิบัติงานระงับเหตุสาธารณภัย โดยมีจุดเริ่มต้นจากได้รับแจ้งจากศูนย์วิทยุพระราม/ประชาชน หัวหน้าเวรปฏิบัติการจัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ วัสดุ อุปกรณ์ ตามแผนเผชิญเหตุ รายงานหัวหน้าสถานีดับเพลิง หัวหน้าสถานีดับเพลิงพิจารณาสั่งการและรายงานผู้บริหารระดับสูงเพื่อพิจารณา ออกปฏิบัติงานดับเพลิงและกู้ภัยตามแผนเผชิญเหตุ พิจารณาปรับแผนตามสถานการณ์ สรุปรายงานผลการปฏิบัติงาน
20. การปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน โดยมีจุดเริ่มต้นจากได้รับแจ้งจากศูนย์วิทยุพระราม/ประชาชน หัวหน้าเวรปฏิบัติการจัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ วัสดุ อุปกรณ์ ตามแผนเผชิญเหตุ หัวหน้าสถานีดับเพลิงพิจารณาสั่งการและรายงานผู้บริหารระดับสูง เพื่อพิจารณา ออกปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนตามที่ได้รับการร้องขอ สรุปรายงานผลการปฏิบัติงาน
21. รับเรื่องและตรวจสอบ รับเรื่องและตรวจสอบเอกสารหนังสือรับรองที่สำนักงานเขตพื้นที่ที่เกิดเหตุออกให้ผู้ประสบสาธารณภัย
22. ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้ประสบสาธารณภัย สัมภาษณ์ผู้ประสบสาธารณภัยแต่ละครอบครัว ถึงชื่อ นามสกุล จำนวนสมาชิกในครอบครัว รายได้ และอาชีพของสมาชิกในครอบครัว ความสัมพันธ์ของสมาชิกแต่ละบุคคล ตลอดจนความเสียหายทั้งหมดหรือบางส่วน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
23. ให้ความช่วยเหลือด้านเครื่องอุปโภคบริโภค ให้ความช่วยเหลือด้านเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ได้แก่ ข้าวสาร 1 ถุง อาหารแห้งประกอบด้วย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 20 ซอง น้ำพริกปลาป่น 1 ขวด ปลากระป๋อง4 กระป๋อง ผักกาดดอง 4 กระป๋อง สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ขันน้ำ ผ้าเช็ดตัว ผ้าถุง โสร่ง ผ้าอนามัย ตลอดจนเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ผ้าห่มคนละ 1 ผืน เสื้อผ้าเด็ก และเสื้อผ้าผู้ใหญ่ คนละ 2 ชุด เครื่องแบบนักเรียนคนละ 2 ชุด มุ้ง (มุ้ง 1 หลังต่อ 1 ครอบครัว หรือตามความเหมาะสม) เป็นต้น
24. ให้ความช่วยเหลือด้านเงินสงเคราะห์ผู้ประสบภัย การช่วยเหลือด้านเงินสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย ค่าจัดการศพ ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่พักอาศัยชั่วคราวหรือค่าเช่าบ้าน เงินทุนประกอบอาชีพ เงินสมทบจัดซื้อสัตว์เลี้ยงหรือพืชพันธุ์อื่นๆ รวมถึงปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช
25. สรุปรายละเอียดการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ข้อมูลรายละเอียดรายงานผู้บริหารในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย จำนวนผู้ประสบสาธารณภัย จำนวนสิ่งของที่ช่วยเหลือ รวมทั้งการคำนวณราคาสิ่งของทั้งหมด
26. การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประสบสาธารณภัย เพื่อขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ เช่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย มูลนิธิป่อเต็กตึ้ง มูลนิธิร่วมกตัญญู สภากาชาดไทย มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ เป็นต้น
27. ดำเนินการสำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรม (Training Need) จุดเริ่มจากสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร เวียนแจ้งหน่วยงานให้สำรวจความจำเป็นในการฝึกบรมประจำปีงบประมาณ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อได้รับแจ้งจากสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร แล้ว จะเวียนแจ้งทุกส่วนราชการในสังกัดสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้หากจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรในองค์กรในเรื่องใดบ้าง และส่งกองวิชาการและแผนงาน เพื่อวิเคราะห์หาความจำเป็นตามวิกฤติ สรุปและจัดทำเป็นโครงการฝึกอบรม/สัมมนา ส่งกลับสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร ต่อไป
28. การจัดทำแผนพัฒนาข้าราชาการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เริ่มต้นโดยรวบรวมผลการวิเคราะห์จากการหาจำเป็นในการฝึกอบรมนำมาจัดทำโครงการฝึกอบรมสัมมนา โดยกำหดเป้าหมาย กิจกรรมเสนอขอจัดสรรงบประมาณ และเสนอแผนพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อรวบสรุปเป็นแผนพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
29. การกำหนดหลักสูตร ผลวิเคราะห์จากความจำเป็นในการฝึกอบรมนำมากำหนดเนื้อหาการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถสนองตอบความจำเป็นและนโยบายผู้บริหาร พิจารณาเทียบเคียงกับหลักสูตรภายนอกที่มีลักษณะเดียวกัน และสอดคล้องเป็นไปตามเส้นทางการพัฒนาบุคลากรตามสายอาชีพการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นำเข้าคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตรกำหนดเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมต่อไป
30. การดำเนินการฝึกอบรม โครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี จัดทำโครงการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ จัดเตรียมทรัพยากรในการบริหารโครงการขออนุมัติโครงการจัดทำคำสั่งให้ข้าราชการเข้ารับการอบรม ประสานวิทยากร สถานที่ ดำเนินการฝึกอบรมตามกระบวนการฝึกอบรม
31. การติดตามดำเนินผลการฝึกอบรม เริ่มต้นจากการแจกแบบประเมินผล ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ประเมินผลด้านความรู้ ทักษะ ที่ได้จากการฝึกอบรม การบรรลุวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมความเหมาะสมของโครงการฝึกอบรมในด้านต่างๆ เช่น เนื้อหาวิชา ระยะเวลา วิทยากร สถานที่ฝึกอบรม ฯลฯ รวบรวม สรุป วิเคราะห์ ข้อมูลที่ได้และรายงานผลให้ผู้บริหารทราบ
32. งานสารบรรณ และธุรการ โดยมีจุดเริ่มต้นจากการรับและตรวจสอบหนังสือ/เอกสาร การจำแนกประเภทหนังสือ/เอกสาร การจัดทำหนังสือ/เอกสาร การเสนอหนังสือ/เอกสารต่อผู้มีอำนาจ การส่งหนังสือ/เอกสาร และสิ้นสุดที่การเก็บรักษาหนังสือ/เอกสาร
33. งบประมาณ โดยมีจุดเริ่มต้นจากการแจ้งปฏิทินงบประมาณ การจัดทำงบประมาณและบันทึกรายละเอียดคำของบประมาณ การเสนอคำของบประมาณต่อผู้มีอำนาจ การส่งคำของบประมาณ และสิ้นสุดที่การชี้แจงงบประมาณ
34. งานเบิกเงิน โดยมีจุดเริ่มต้นจากการตรวจสอบเอกสาร/หลักฐานการเบิกเงิน การขออนุมัติเบิกเงินต่อผู้มีอำนาจ การส่งเอกสาร/หลักฐานตรวจสอบฎีกา และสิ้นสุดที่การเอกสาร/หลักฐานการเบิกเงินให้กองการเงิน สำนักการคลัง
35. งานจ่ายเงิน โดยมีจุดเริ่มต้นจากการรับใบโอน การเตรียมจ่ายและเขียนเช็คสั่งจ่าย การเสนอเช็คจ่ายเงินต่อผู้มีอำนาจ การตัดจ่ายในระบบ MIS และสิ้นสุดที่การจ่ายเงิน
36. งานยืมเงิน โดยมีจุดเริ่มต้นจากการตรวจสอบงบประมาณ ใบยืม ผู้ยืม และวงเงินยืม การขออนุมัติยืมเงินใช้ในราชการต่อผู้มีอำนาจ การบันทึกรายละเอียดการยืมเงินและส่งเอกสาร/หลักฐานตรวจสอบฎีกา การส่งหนังสืออนุมัติ/เอกสาร/หลักฐานประกอบการยืมเงินให้กองบัญชี สำนักการคลัง และสิ้นสุดที่การจ่ายเงินยืมและติดตามให้ผู้ยืมเงินชดใช้เงินยืม
37. งานบันทึกบัญชี โดยมีจุดเริ่มต้นจากการตรวจสอบเอกสาร/หลักฐาน การรับเงิน/เบิกเงิน/จ่ายเงิน การบันทึกรายละเอียดรายการและผ่านรายการในระบบ MIS การจัดทำงบรับ-จ่ายประจำเดือน/ปี การเสนอรายงานงบรับ-จ่ายประจำเดือน/ปี การรายงานงบรับ-จ่ายประจำเดือน/ปีต่อ ปลัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานตรวจสอบภายใน กองบัญชี สำนักการคลัง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
38. งานจัดซื้อหรือจ้างโดยวิธีตกลงราคา โดยมีจุดเริ่มต้นจากการตรวจสอบงบประมาณ/ราคามาตรฐาน/ราคากลางของทางราชการ การรายงานขอความเห็นชอบจัดซื้อหรือจ้างต่อผู้มีอำนาจ การรับและตรวจสอบใบเสนอราคา/เอกสารประกอบและต่อรองราคา การขออนุมัติจัดซื้อหรือจ้าง พร้อมเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ การดำเนินการจัดซื้อหรือจ้าง การทำสัญญา และตรวจรับพัสดุ การรายงานผลการจัดซื้อหรือจ้างต่อผู้มีอำนาจ การบันทึกรายละเอียดรายการจัดซื้อหรือจ้างในระบบ MIS และสิ้นสุดที่การรวบรวมเอกสาร/หลักฐานตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงิน
39. งานจัดซื้อหรือจ้างโดยวิธีสอบราคา โดยมีจุดเริ่มต้นจากการตรวจสอบงบประมาณ/ราคามาตรฐาน/ราคากลางของทางราชการ การรายงานขอความเห็นชอบจัดซื้อหรือจ้าง และประกาศสอบราคา พร้อมขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา การส่งประกาศสอบราคา/รับซองเอกสารสอบราคา และเปิดซองเอกสารสอบราคา การรายงานผลการเปิดซองสอบราคาและขออนุมัติจัดซื้อหรือจ้าง พร้อมขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ การค้ำประกันสัญญา/ทำสัญญาจัดซื้อหรือจ้าง การส่งมอบและตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้าง การรายงานผลการตรวจรับพัสดุ/งานจ้างต่อผู้มีอำนาจ การบันทึกรายละเอียดรายการจัดซื้อหรือจ้างในระบบ MIS การรวบรวมเอกสาร/หลักฐานตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงิน และสิ้นสุดที่การตรวจสอบและคืนหลักประกันสัญญาเมื่อครบกำหนดเวลา